Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดลพบุรี

รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดลพบุรี รายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม 2558)

pll_content_description

สำนักงานคลังจังหวัดลพบุรี รายงานเศรษฐกิจโดยรวมจังหวัด ในปี 2558 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจจังหวัดในเดือนพฤศจิกายน 2558 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโดยรวม ของจังหวัด มีสัญญาณขยายตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากด้านอุปทานที่เพิ่มขึ้น จากปีก่อนทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ แม้ว่าภาคการเกษตรจะลดลง ผนวกกับด้านอุปสงค์ ที่ขยายตัวทั้งการลงทุนภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจดัชนีราคาผู้บริโภคหดตัวต่อเนื่อง ปริมาณเงินฝากขยายตัวเล็กน้อย ในขณะที่ปริมาณสินเชื่อหดตัวต่อเนื่อง
ประชากรและกำลังแรงงานจังหวัดลพบุรี มีประชากรจำนวน 776,027 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 454,385 คน ผู้มีงานทำ 443,058 คน ผู้ว่างงาน 6,170 คน ผู้รอฤดูกาล 5,157 คน
การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดลพบุรี จำนวน 443,058 คน หรือร้อยละ 98.62 ทำงานในภาคเกษตร ผู้มีงานทำจำนวน 152,534 คน หรือร้อยละ 34.4 สำหรับทำงานนอกภาคการเกษตร ทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุด จำนวน 92,598 คน หรือร้อยละ 20.9 รองลงมาคือการขายส่ง ขายปลีก จำนวน 69,907 คน หรือร้อยละ 15.8 และผู้ที่มีงานทำส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 122,918 คน หรือร้อยละ 27.8

การว่างงาน จังหวัดลพบุรีมีผู้ว่างงาน จำนวน 6,170 คนหรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.4
แรงงานนอกระบบ จากข้อมูลเบื้องต้นปี 2557 มีผู้ทำงานอยู่ในแรงงานนอกระบบจำนวน 439,101 คน หรือร้อยละ 97.60 โดยส่วนใหญ่จะทำงานในภาคเกษตร คือ จำนวน 155,972 คน หรือร้อยละ 35.52 อุตสาหกรรมที่มีแรงงานนอกระบบสูงสุดคือ การผลิต จำนวน 75,483 คน หรือร้อยละ 17.19 รองลงมาคือ การขายส่ง ขายปลีก จำนวน 74,225 คน หรือร้อยละ 16.90 ส่วนอาชีพที่มีการทำงานนอกระบบสูงสุด คือ ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง จำนวน 125,450 คน หรือร้อยละ 28.56 รองลงมา คือ พนักงานบริการ และพนักงานร้านค้าและตลาด จำนวน 83,112 คน หรือร้อยละ 18.92 สำหรับด้านการศึกษาแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มี การศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 199,228 คน หรือร้อยละ 31.35
การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม) นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 4,663 คน โดยมีผู้สมัครงาน จำนวน 14,230 คน และการบรรจุงาน จำนวน 4,110 ซึ่งมีอัตรา การบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 88.14 ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุด คือ ระดับมัธยมศึกษามีความต้องการร้อยละ 38.40 (1,791 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับ ปวช. ร้อยละ 18.58 (866 อัตรา) และระดับ ปวส. ร้อยละ 17.15 (800 อัตรา)
สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ อาชีพงานพื้นฐาน ร้อยละ 43.85 (2,045 คน) รองลงมา คือ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบการ ร้อยละ 14.02 (653 คน) และพนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า และตลาด ร้อยละ 15.65 (730 คน) และอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ การผลิต ร้อยละ 67.31 (3,139 คน) รองลงมา คือ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซม ยานยนต์ จักรยานยนต์ ร้อยละ 17.15 (800 คน) และโรงแรมและภัตตาคารร้อยละ 5.10 (238 คน)
ความต้องการแรงงาน ในจังหวัดลพบุรี ปี 2557 คาดการณ์ว่าสถานประกอบการมีความต้องการแรงงานฝีมือมากที่สุด จำนวน 28,389 อัตรา (ร้อยละ 37.21) รองลงมา ได้แก่ แรงงานกึ่งฝีมือ จำนวน 27,668 อัตรา (ร้อยละ 36.27) แรงงานไร้ฝีมือ 14,288 อัตรา (ร้อยละ 18.73) และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้บริหาร 5,937 อัตรา (ร้อยละ 7.79) ตามลำดับ โดยแรงงานที่ต้องการส่วนใหญ่ต้องการระดับ ปวช. มากที่สุดจำนวน 204 อัตรา (ร้อยละ 34.93) รองลงมาเป็นได้แก่ ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 166 อัตรา (ร้อยละ 28.42) ระดับปวส. และระดับปริญญาตรี มีจำนวนเท่ากันคือ 74 อัตรา (ร้อยละ 12.67) ตามลำดับ สำหรับอาชีพที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด จำแนกตามทักษะฝีมือ คือกิจการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 172 อัตรา (ร้อยละ 60.99) โดยส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานฝีมือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กิจการอาหารและอาหารสัตว์ จำนวน 60 อัตรา (21.27) ที่ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานกึ่งฝีมือมากที่สุด และกิจการเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ จำนวน 68 อัตรา (42.76) ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงาน ไร้ฝีมือ ผลการสำรวจการเข้าออกงานของแรงงานในกิจการต่างๆ ปี 2557 ในจังหวัดลพบุรี พบว่า มีการรับแรงงานใหม่ทั้งสิ้น 12,091 คน โดยเป็นการรับเข้าทำงานเพื่อทดแทนแรงงานเก่าที่ออกไป จำนวน 11,219 คน (92.78) เมื่อพิจารณาตามรายกิจการ พบว่า กิจการที่มีการรับแรงงานเข้าทำงานมากที่สุดได้แก่ กิจการอาหารและอาหารสัตว์ โดยรับแรงงานเข้าทำงาน จำนวน 5,187 คน รองลงมา ได้แก่ กิจการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3,471 คน และกิจการอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ จำนวน 993 คน ตามลำดับ ผลการสำรวจการขาดแคลนแรงงานในปี 2557 ในจังหวัดลพบุรี พบว่า มีจำนวนการขาดแคลนแรงงานทั้งสิ้น 1,066 อัตรา เมื่อพิจารณา การขาดแคลนแรงงานตามระดับการศึกษา พบว่า ระดับ ปวส. มีการขาดแคลนแรงงานมากที่สุด จำนวน 825 อัตรา (ร้อยละ 77.39) รองลงมาได้แก่ ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 116 อัตรา (ร้อยละ 10.88) และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 89 อัตรา (ร้อยละ 8.34) ตามลำดับ
แรงงานต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตทำงาน ตามประกาศ คสช. (แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย)จำนวนทั้งสิ้น 5,195 คน จำแนกเป็นสัญชาติกัมพูชามากที่สุด จำนวน 2,463 คน คิดเป็นร้อยละ 47.42 รองลงมาเป็นสัญชาติพม่า จำนวน 2,163 คน คิดเป็นร้อยละ 41.63 และสัญชาติลาว จำนวน 569 คน คิดเป็น ร้อยละ 10.95

แรงงานไทยในต่างประเทศ ในช่วง ปี 2558 จังหวัดลพบุรี มีผู้แจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 381 คน โดยแรงงานที่ทำงานในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 67 คน ร้อยละ 38.07 รองลงมาคือระดับปวช. ปวท. อนุปริญญา จำนวน 60 คน ร้อยละ 34.09 และระดับปริญญาตรี จำนวน 35 คน ร้อยละ 19.89 ส่วนวิธีการเดินทางพบว่า ไปโดย Re-Entry จำนวน 263 คน หรือร้อยละ 69.03 รองลงมานายจ้างพาไปทำงาน จำนวน 59 คน ร้อยละ 15.49 ส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทย ไปทำงานส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย จำนวน 303 คน (ร้อยละ 79.53) รองลงมาภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน 42 คน (ร้อยละ 11.02)
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน จังหวัดลพบุรี โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลพบุรี ในช่วงปี 2558 มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2558 ทั้งสิ้น 19 คน กลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกมากที่สุด คือ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 10 คน หรือ ร้อยละ 80.0 รองลงมาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน หรือร้อยละ 26.31 และอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 4 คน หรือร้อยละ 21.05
สำหรับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี กิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานรองรับประชาคมอาเซียน ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2558 มีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฯ จำนวน 1,227 คน กลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกฯ มากที่สุด คือ อาชีพธุรกิจและบริการ จำนวน 685 คน หรือร้อยละ 55.85 รองลงมาอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 386 คนหรือร้อยละ 31.45 และอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 126 คน หรือร้อยละ 10.26 ส่วนผู้ที่ผ่านการฝึกยกฯ จำนวน 1,185 คน หรือร้อยละ 96.57 อาชีพ ที่ผ่านการฝึกมากที่สุด คือธุรกิจและบริการ จำนวน 677 คน หรือร้อยละ 57.13 รองลงมาอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 359 คน หรือ ร้อยละ 30.29 และอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 123 คน หรือร้อยละ 10.37
การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในจังหวัดลพบุรี จำแนกกลุ่มอาชีพระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2558 มีผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสิ้น 291 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล มีผู้เข้ารับการทดสอบฯ มากที่สุด จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 49.14 รองลงมาคือกลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 20.63 และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 11.68 และมีผู้ผ่านการฝึกทั้งสิ้น 241 คน คิดเป็น ร้อยละ 82.81 กลุ่มอาชีพ ที่ผ่านการฝึกมากที่สุด คือ กลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 50.62 รองลงมากลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 19.09 และ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 11.20

การคุ้มครองแรงงาน จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 436 แห่ง มีลูกจ้างผ่านการตรวจ จำนวน 17,208 คน ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน จำนวน 157 แห่ง ร้อยละ 36.01 รองลงมาขนาด 20-49 คน จำนวน 94 แห่ง หรือร้อยละ 21.55 และขนาด 5-9 คน จำนวน 81 แห่ง หรือร้อยละ 18.57 โดยสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย มีร้อยละ 72.49
– สถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายในปี 2558 มีจำนวน 24 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 27.51 ซึ่งเป็นสถานประกอบการขนาด 10-19 คน จำนวน 18 แห่ง หรือ ร้อยละ 75.03 และสถานประกอบการขนาด 20-49 คน จำนวน 2 คน หรือร้อยละ 8.33
– ประเภทอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายในปี 2558 คือ เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ จำนวน 18 แห่ง หรือร้อยละ 75.02 การขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และการผลิต ประเภทละ 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 8.33 และการก่อสร้าง และโรงแรมและภัตตาคาร จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ ทั้งสิ้น 262 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 9,627 คน พบว่าสถานประกอบการ ที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย จำนวน 257 แห่ง หรือร้อยละ 98..09 สถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 11 แห่ง หรือร้อยละ 1.91
การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในปี 2558 มีการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำนวน 650 คน โดยประเภทส่วนใหญ่ จะหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 525 คน หรือร้อยละ 80.76 หยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 114 คน หรือ ร้อยละ 17.53 และสูญเสียอวัยวะบางส่วน จำนวน 7 คน หรือร้อยละ 1.09
การเกิดข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งภายในจังหวัดลพบุรี ในปี 2558 ไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาท และข้อ ขัดแย้งใดๆ
การเลิกจ้างแรงงาน สถานประกอบการในจังหวัดลพบุรี มีการเลิกกิจการในปี 2558 จำนวน 1 แห่ง คือ บริษัท โอเอแซดที จำกัด โดยมีลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 573 คน
– บริษัทฯ ได้ปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2558 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองเรื่องค่าชดเชย
การประกันสังคม ในปี 2558 พบว่า จังหวัดลพบุรีมีจำนวนสถานประกอบการ และผู้ประกันตนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม จำแนกออกเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน โดยกองทุนประกันสังคมมีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 2,193 แห่ง มีผู้ประกันตน 115,748 ราย และกองทุนเงินทดแทน มีสถานประกอบการทั้งสิ้น 1,886 แห่ง ผู้ประกันตน 71,605 ราย และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานของรัฐ จำนวน 3 แห่ง ของสถานพยาบาลทั้งหมด

ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด ได้แก่ สงเคราะห์บุตร มีจำนวน 14,000 ราย หรือร้อยละ 79.42 รองลงมา คือ เจ็บป่วย จำนวน 1,583 คน หรือร้อยละ 8.98 และว่างงาน จำนวน 1,066 คน หรือร้อยละ 6.04 (ข้อมูล ณ ไตรมาส 3 ปี 2558)
สำหรับการจ่ายเงินกรณีเจ็บป่วย มีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 12,089,663.45 บาท หรือร้อยละ 35.17 ของเงินประโยชน์ทดแทน ที่จ่าย (ข้อมูล ณ ไตรมาส 3 ปี 2558)

TOP