สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน
ไตรมาส 1 ปี 2557 มีรายละเอียดสรุปดังนี้
สำนักงานคลังจังหวัดลพบุรี รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในไตรมาส 1 ปี 2557 (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน) พบว่า ภาพรวมหดตัวลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยเศรษฐกิจหลักของจังหวัด ด้านอุปทานลดลงตามการผลิตภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ส่วนภาคบริการยังขยายตัวได้ดี ด้านอุปสงค์ ลดลงตามการบริโภคภาคเอกชน แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐจะเพิ่มขึ้นก็ตาม สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อยู่ในเกณฑ์ดี ด้านการเงินขยายตัวในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.32 การจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ มีจำนวน 40 ราย อุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุด คือ การก่อสร้าง ในส่วนการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ พบว่ามี จำนวน 3 ราย เงินลงทุน 134.49 ล้านบาท สามารถเพิ่มแรงงานได้ 83 คน
ประชากรและกำลังแรงงานจังหวัดลพบุรี มีประชากรจำนวน 775,439 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 664,567 คน ผู้มีงานทำ 476,761 คน ผู้ว่างงาน 5,921 คน ผู้รอฤดูกาล 572 คน (ข้อมูล ณ ไตรมาส 3 ปี 2556)
การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดลพบุรี จำนวน 476,761 คน หรือร้อยละ 61.48 ทำงานในภาคเกษตร ผู้มีงานทำจำนวน 182,288 คน หรือร้อยละ 38.23 ทำงานนอกภาค
การเกษตร โดยทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุด จำนวน 80,130 คน หรือร้อยละ 16.80 รองลงมาคือการขายส่ง ขายปลีก จำนวน 68,853 คน หรือร้อยละ 14.44 และผู้ที่มีงาน
ทำส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 133,972 คน หรือร้อยละ 28.10
การว่างงาน จังหวัดลพบุรีมีผู้ว่างงาน จำนวน 5,921 คนหรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.20 (ข้อมูล : สำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี ณ ไตรมาส 3 ปี 2556)
แรงงานนอกระบบ จากข้อมูลเบื้องต้นปี 2556 มีผู้ทำงานอยู่ในแรงงานนอกระบบจำนวน 476,761 คน หรือร้อยละ 71.74 โดยส่วนใหญ่จะทำงานในภาคเกษตรคือจำนวน 152,528 คน หรือร้อยละ 31.99 อุตสาหกรรมที่มีแรงงานนอกระบบสูงสุดคือ การผลิต จำนวน 80,130 คน หรือร้อยละ 16.80 รองลงมาคือ การขายส่ง ขายปลีก จำนวน 68,853 คน หรือร้อยละ 14.44 ส่วนอาชีพที่มีการทำงานนอกระบบสูงสุด คือ ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง จำนวน 152,528 คน หรือร้อยละ 31.99 รองลงมา คือ พนักงานบริการ และพนักงานร้านค้าและตลาด จำนวน 96,903 คน หรือร้อยละ 20.32 สำหรับด้านการศึกษาแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มี การศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 133,972 คน หรือร้อยละ 28.10 (ข้อมูล : สำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี ณ ไตรมาส 3 ปี 2556)
การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2557 (มกราคม – มีนาคม) นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่ง งานว่าง จำนวน 2,429 คน โดยมีผู้สมัครงาน 2,994 คน และการบรรจุงานจะมีอัตรา การบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่าง ร้อยละ 63.77 ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษา ที่ต้องการสูงสุด คือ ระดับมัธยมศึกษามีความต้องการร้อยละ 33.10 (804 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับ ปวส. ร้อยละ 20.75 (504 อัตรา) และระดับ ปวช. ร้อยละ 20.55 (499 อัตรา) สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ อาชีพงานพื้นฐาน ร้อยละ 38.79 (601 คน) รองลงมา คือ อาชีพช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 17.49 (271 คน) และอาชีพเสมียน เจ้าหน้าที่ ร้อยละ 15.68 (243 คน)และอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ การผลิต ร้อยละ 65.67 (1,595 คน) รองลงมา คือ เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ ร้อยละ 16.06 (390 คน) และการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ร้อยละ 7.90 (190 คน)
ความต้องการแรงงาน ในจังหวัดลพบุรี ปี 2556 คาดการณ์ว่าสถานประกอบการมีความต้องการแรงงานฝีมือมากที่สุด จำนวน 84 อัตรา (ร้อยละ 55.27) รองลงมา ได้แก่ แรงงานกึ่งฝีมือ จำนวน 40 อัตรา (ร้อยละ 26.31) และแรงงาน ไร้ฝีมือ 20 อัตรา (ร้อยละ 13.15) ตามลำดับ โดยแรงงานที่ต้องการส่วนใหญ่ต้องการระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุดจำนวน 50 อัตรา (ร้อยละ 31.44) รองลงมาเป็นได้แก่ ระดับ ปวส. จำนวน 33 อัตรา (ร้อยละ 20.75) และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 25 อัตรา (ร้อยละ 15.73) ตามลำดับ อาชีพที่ต้องการแรงงานมากที่สุด ได้แก่ อาชีพพนักงานเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม บริกร จำนวน 25 อัตรา (ร้อยละ 15.72) รองลงมาได้แก่ อาชีพช่างก่ออิฐ(ช่างก่อสร้าง) และอาชีพช่างปูนคอนกรีต อาชีพละ 20 อัตรา (ร้อยละ 12.57) สำหรับการเข้าออกงานลูกจ้างที่ออกจากงาน ปี 2556 มีจำนวน 12,494 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการลาออกของพนักงาน 8,417 คน (ร้อยละ 67.36) ส่วนการลดตำแหน่งงาน 3,632 คน (ร้อยละ 29.07) เหตุผลอื่นๆ 409 คน (ร้อยละ 3.28) อาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุดในจังหวัดลพบุรี คืออาชีพพนักงานดูแลความปลอดภัย พนักงานรักษาความปลอดภัย จำนวน 40 อัตรา (ร้อยละ 47.61) รองลงมาได้แก่ แรงงานฝีมือ จำนวน 36 อัตรา (ร้อยละ 42.85) ส่วนระดับการศึกษาที่ขาดแคลนสูงสุดคือระดับปวส. จำนวน 17 อัตรา (ร้อยละ 21.25) รองลงมาได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 15 อัตรา (ร้อยละ 18.75) และระดับปวส./อนุปริญญา จำนวน 13 อัตรา (ร้อยละ 16.25) ตามลำดับ (ข้อมูล ณ ไตรมาส 3 ปี 2556)
แรงงานต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติ ครม. ปี 2556 (แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย) มติ ครม. 6 ส.ค. 56 จำนวนทั้งสิ้น 246 คน จำแนกเป็นสัญชาติกัมพูชามากที่สุด จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 63.41 รองลงมาเป็นสัญชาติลาว จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 27.65 และ สัญชาติพม่า จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 8.94
แรงงานไทยในต่างประเทศ ในช่วง ไตรมาส 1 ปี 2557 จังหวัดลพบุรี มีผู้แจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 52 คน โดยแรงงานที่ทำงานในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 23 คน ร้อยละ 44.23 รองลงมาคือระดับ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา จำนวน 15 คน ร้อยละ 28.85 และระดับปริญญาตรี จำนวน 11 คน ร้อยละ 21.15 ส่วนวิธีการเดินทางพบว่า ไปโดย นายจ้างพาไปฝึกงาน จำนวน 43 คน หรือร้อยละ 48.86 รองลงมา Re-Entry จำนวน 27 คน ร้อยละ 30.68 ส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงาน ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย จำนวน 67 คน (ร้อยละ 76.14) รองลงมาภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน 11 คน (ร้อยละ 15.50)
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน จังหวัดลพบุรี โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลพบุรี ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2557 ไม่มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2557
สำหรับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2557 มีจำนวน 16 คน โดยเป็นกลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เข้ารับการฝึกอาชีพ จำนวน 16 คน และผ่านการฝึกอบรมทั้งหมด 16 คน
การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในจังหวัดลพบุรี จำแนกกลุ่มอาชีพระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2557 มีผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสิ้น 92 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างอุตสาหการ มีผู้เข้ารับการทดสอบฯ มากที่สุด จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 39.13 รองลงมาคือกลุ่มอาชีพ ช่างเครื่องกล จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 57.60 และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.27 และมีผู้ผ่านการฝึกทั้งสิ้น 59 คน คิดเป็นร้อยละ 64.13 กลุ่มอาชีพที่ผ่านการฝึกมากที่สุด คือ กลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 69.49 รองลงมากลุ่มอาชีพช่าง อุตสาหการ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25.42 และกลุ่มช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.09
การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2557 ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานฯ ในกลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการทั้งสิ้น จำนวน 157 คน โดยมีผู้ผ่านการฝึกฯ จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 87.26
การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามอาชีพ ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2557 ตามกิจกรรมยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้มีศักยภาพและผลิตภาพเพื่อการแข่งขันรายการคลีนิคพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่เพื่อการพัฒนาผลิตภาพแรงงาน มีผู้เข้ารับการฝึกฯ ทั้งสิ้น จำนวน 583 คน กลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกฯ สูงสุด คือ กลุ่มธุรกิจและบริการ มีจำนวน 464 คน หรือร้อยละ 79.59 รองลงมากลุ่มช่างเครื่องกล จำนวน 59 คน หรือร้อยละ 10.12 กลุ่มอุตสาหการ จำนวน 40 คน หรือร้อยละ 6.86 ส่วนผู้ผ่านการฝึกฯ สูงสด คือ กลุ่มธุรกิจและบริการ จำนวน 460 คน หรือร้อยละ 79.45 รองลงมากลุ่มช่างเครื่องกล จำนวน 59 คน หรือร้อยละ 10.19 กลุ่มช่างอุตสาหการ จำนวน 40 คน หรือ ร้อยละ 6.90
การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2557 ตามโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ทั้งสิ้น 104 คน พบว่าช่างอุตสาหกรรมศิลป์ เข้ารับการฝึกฯ มากที่สุด จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 80.77 และช่างเครื่องกล จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 19.23
การคุ้มครองแรงงาน จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 98 แห่ง มีลูกจ้างผ่านการตรวจ จำนวน 3,766 คน ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 500 – 999 คน จำนวน 1,445 คน ร้อยละ 39.89 โดยสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย มีร้อยละ 96.17
– สถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายในไตรมาส 1 ปี 2557 มีจำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.02 ซึ่งเป็นสถานประกอบการขนาด 100 – 199 คน
– ประเภทอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายมากที่สุด ในไตรมาส 1 ปี 2557 คือ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน จำนวน 1 แห่ง ลูกจ้างจำนวน 144 คน
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ ทั้งสิ้น 108 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 2,096 คน พบว่าสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย จำนวน 108 แห่ง หรือปฏิบัติถูกต้องทั้งหมด
การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2557 มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำนวน 115 คน โดยประเภทส่วนใหญ่ จะหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 87 คน หรือร้อยละ 75.67 และหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 24 คน หรือร้อยละ 20.87
การเกิดข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งภายในจังหวัดลพบุรี ในไตรมาส 1 ปี 2557 ไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาท และข้อขัดแย้งใดๆ
การเลิกจ้างแรงงาน สถานประกอบการในจังหวัดลพบุรี ไม่มีการเลิกกิจการในไตรมาส 1 ปี 2557
การประกันสังคม ในไตรมาส 1 ปี 2557 พบว่า จังหวัดลพบุรีมีจำนวนสถานประกอบการและผู้ประกันตนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม จำแนกออกเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน โดยกองทุนประกันสังคมมีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 2,242 แห่ง มีผู้ประกันตน 70,977 ราย และกองทุนเงินทดแทน มีสถานประกอบการทั้งสิ้น 1,952 แห่ง ผู้ประกันตน 62,842 ราย และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานของรัฐ จำนวน 3 แห่ง ของสถานพยาบาลทั้งหมด
ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด ได้แก่ สงเคราะห์บุตร มีจำนวน 13,838 ราย หรือร้อยละ 82.43 รองลงมา คือ เจ็บป่วย จำนวน 1,541 คน หรือร้อยละ 9.18
และว่างงาน จำนวน 915 คน หรือร้อยละ 5.46 สำหรับการจ่ายเงินกรณีเจ็บป่วย มีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 11,460,546.60 บาท หรือร้อยละ 37.01 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย