Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดลพบุรี

สถานการณ์แรงงานจังหวัดลพบุรี ไตรมาส 1 ปี 2553 (มกราคม – มีนาคม)

pll_content_description

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
………………………………….
 
                     สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงานไตรมาส  1  ปี  2553 ของจังหวัดลพบุรี                  
มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
 
ภาวะเศรษฐกิจ                               
โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดลพบุรี ตามข้อมูล GPP ปี พ.ศ.2551 ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดลพบุรีเมื่อพิจารณารายได้จากการผลิตขึ้นกับสาขาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 27.95   19.03 และ 14.57 ของมูลค่า GPP รวมทั้งจังหวัด ตามลำดับ
                                 ภาพรวมเศรษฐกิจจังหวัดลพบุรี ในไตรมาส 1/2553 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจจังหวัดขยายตัว คือ ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดี มูลค่าการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการจ้างงานสูงขึ้นด้วย รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนเริมขยายตัวหลังจากหดตัวต่อเนื่องมาหลายไตรมาส
                                   แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดลพบุรี ไตรมาส 2/2553 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจจังหวัดลพบุรี ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2553 (เมษายน – มิถุนายน) จะยังขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ภาคอุตสาหกรรม  การบริโภคภาคประชาชน การจ้างงาน จะขยายตัวในเกณฑ์ดี รวมทั้งการลงทุนภาครัฐจากโครงการไทยเข้มแข็งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดได้มาก แต่จะมีปัจจัยลบที่ส่งผลให้เศรษฐกิจจังหวัดไม่ขยายตัวเท่าที่ควร คือ ปัญหาภัยธรรมชาติ
 
สถานการณ์ด้านแรงงาน
                                  ประชากรและกำลังแรงงาน ประชากรในจังหวัดลพบุรีมีจำนวน 779,269 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 480,252 คน  ผู้มีงานทำ 466,876 คน ผู้ว่างงาน 9,609 คน ผู้รอฤดูกาล 3,768 คน
 
                                  การมีงานทำ ผู้มีงานทำ 466,876 คน พบว่าทำงานในภาคเกษตรกรรม 179,851 คน คิดเป็นร้อยละ 38.52 ของผู้มีงานทำทั้งหมด ส่วนผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 287,025 คน (ร้อยละ 61.48 ของผู้มีงานทำทั้งหมด) โดยกลุ่มผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมจะทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุดจำนวน 89,267 คน คิดเป็นร้อยละ 31.10 ของผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมทั้งหมด  รองลงมาคือ  การขายส่ง การขายปลีกมี 68,423 คน คิดเป็นร้อยละ 23.84 ของผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมทั้งหมด การก่อสร้าง 33,973 คน ร้อยละ 11.84 สาขาโรงแรมและภัตตาคาร จำนวน 31,776 คน ร้อยละ 11.07 และการศึกษาจำนวน 15,816 คน ร้อยละ 5.51                                                                                                                                    
                                   การว่างงาน ผู้ว่างงานในจังหวัดลพบุรีมีประมาณ 9,609 คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.00
 
                                   แรงงานนอกระบบ ผู้ทำงานอยู่ในแรงงานนอกระบบจำนวน   245,389  คน  ส่วนใหญ่จะทำงาน
ในภาคเกษตรจำนวน  132,921  คน หรือร้อยละ  54.16  นอกภาคเกษตร 112,468 คน หรือร้อยละ 45.84  โดยอุตสาหกรรมที่มีแรงงานนอกระบบและนอกภาคเกษตรทำงานสูงสุดคือ  การขายส่ง  การขายปลีก  การซ่อมแซม ยานยนต์ จำนวน 50,835 คน (ร้อยละ 45.20) ของแรงงานนอกระบบนอกภาคเกษตรกรรมทั้งหมด รองลงมาคือโรงแรมและภัตตาคาร 22,206 คน (ร้อยละ 19.74)   สาขาการผลิต 14,354 คน (ร้อยละ 12.76) การก่อสร้าง 8,718 คน (ร้อยละ 7.75)   และการบริการชุมชน สังคม 6,958 คน (ร้อยละ 6.19) ของแรงงานนอกระบบนอกภาคเกษตรกรรมทั้งหมด 
 
                                  การบริการจัดหางานของจังหวัดลพบุรี ในช่วงไตรมาสที่  1  ปี  2553 นายจ้าง/สถานประกอบการ
ได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง 1,505 อัตรา  โดยมีผู้ลงทะเบียนสมัครงานจำนวนทั้งสิ้น 1,300 คน และมีผู้ได้รับการบรรจุให้มีงานทำทั้งสิ้น 779 คน หากพิจารณาถึงรายละเอียดของระดับการศึกษาจะพบว่าตำแหน่งงานว่างที่มีความต้องการ คือ ระดับปวช./ปวส./อนุปริญญามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.68 (552 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาโดยมีสัดส่วนร้อยละ 35.48 (534 อัตรา) ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่ามีสัดส่วนร้อยละ 16.74 (252 อัตรา) ระดับปริญญาตรีมีสัดส่วนร้อยละ 11.03 (166 อัตรา) และระดับปริญญาโทมีสัดส่วนร้อยละ 0.07 (1 อัตรา) แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานมีความต้องการแรงงานในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีสูง 
ดังนั้นการผลิตคนในระดับสูงจึงต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง ขณะที่ผู้สมัครงานไตรมาสนี้ ผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีจำนวนมากที่สุด คือ ร้อยละ 50.46 (656 คน) รองลงมาเป็นระดับปวช./ปวส./อนุปริญญา จำนวน 244 คน 
(ร้อยละ 18.77) ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าร้อยละ 18.15 (236 คน) ส่วนระดับปริญญาตรี ร้อยละ 12.54 (163 คน)   และระดับปริญญาโท  ร้อยละ 0.08 (1  คน) ผู้บรรจุงานระดับมัธยมศึกษาได้รับการบรรจุงานมากที่สุด มีร้อยละ 63.29 (493 คน)   ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าจำนวน 101 คน (ร้อยละ 12.97)   ระดับปวช./ปวส./อนุปริญญามีร้อยละ 12.84 (100 คน) ระดับปริญญาตรี 84 คน (ร้อยละ 10.78) และระดับปริญญาโท ร้อยละ 0.13 (1 คน)
 
                                   การจ้างงานคนต่างด้าว   ด้านแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตผ่อนผันให้ทำงานตามมติ ครม.
จำแนกตามสัญชาติมีจำนวนทั้งสิ้น 3,180 คน จำแนกเป็นสัญชาติพม่ามากที่สุด จำนวน 2,871 คน คิดเป็นร้อยละ 90.28 และสัญชาติลาวจำนวน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 6.45 และสัญชาติกัมพูชา 104 คน คิดเป็นร้อยละ 3.27 ของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั้งหมด   ส่วนคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามประเภทการได้รับอนุญาตส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าวประเภท มาตรา 12 ยกเว้นมติ ครม. จำนวน 51 คน (ร้อยละ 52.04) รองลงมาเป็นประเภทชั่วคราว จำนวน 27 คน 
(ร้อยละ 27.55) คนต่างด้าวประเภทตลอดชีพ จำนวน 13 คน (ร้อยละ 13.27) ขณะที่คนต่างด้าวประเภทส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนน้อยที่สุด คือ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 ของคนต่างด้าวถูกกฎหมายทั้งหมด 
 
                                  แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีผู้ได้รับอนุญาตไปทำงานต่างประเทศจำนวน  45  คน หากพิจารณาตามวิธีการเดินทางของผู้ที่เดินทางไปทำงานพบว่า ส่วนใหญ่เป็นประเภท Re-Entry  คือ กลับไปทำงานอีกครั้งหนึ่งโดยการต่ออายุสัญญา คือ 33 คน (ร้อยละ 73.33) และประเภทนายจ้างพาไปฝึกงาน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67   
                                  ส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานในไตรมาสนี้  ส่วนใหญ่จะไปทำงาน
ในภูมิภาคเอเชียจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 62.22 ของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาคือภูมิภาคตะวันออกกลางมีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ภูมิภาคอื่นๆ จำนวน 5 คน  คิดเป็นร้อยละ 11.11 และภูมิภาคแอฟริกามีจำนวน 3 คน ร้อยละ 6.67 
 
            การพัฒนาศักยภาพแรงงาน สำหรับการพัฒนาศักยภาพแรงงานในไตรมาสนี้  ในด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในไตรมาสนี้มี 1 กลุ่มอาชีพที่เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน คือ ช่างเครื่องกล จำนวน 12 คน โดยผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานทั้งหมด          การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน มีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานทั้งสิ้น 158 คน จำแนกเป็นกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานมากที่สุด คือ กลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ 126 คน คิดเป็นร้อยละ 79.75 (ผู้ผ่านการฝึก 105 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของผู้เข้ารับการฝึกสาขาธุรกิจและบริการทั้งหมด) รองลงมาคือช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 12.66 (ผ่านการฝึกทั้งหมดช่างเครื่องกล 12 คน คิดเป็น
ร้อยละ 7.59 (ผ่านการฝึกทั้งหมด(
 
                 การคุ้มครองแรงงาน   การตรวจสถานประกอบการ เป็นการตรวจเพื่อให้คำแนะนำความรู้ในการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นายจ้าง  รวมทั้งสร้างความเข้าใจแก่ลูกจ้าง/ผู้ใช้แรงงานในการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับในไตรมาส 1 ปี 2553 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรีได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการมีการตรวจเรื่องการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ด้าน คือ ด้านการตรวจแรงงานและด้านความปลอดภัยในการทำงาน 
                สำหรับในไตรมาส 1 ปี 2553 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการตรวจแรงงานในสถานประกอบการทั้งสิ้น 99 แห่ง มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจหรือได้รับความคุ้มครองรวม 4,029 คน จำแนกเป็นชาย 1,913 คน (ร้อยละ 47.48 ของลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งหมด) หญิง 1,997 คน (ร้อยละ 49.57 ของลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งหมด) และเด็ก 119 คน (ร้อยละ 2.95 ของลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งหมด) ซึ่งสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1 – 4 คน คิดเป็นร้อยละ 34.34 (34 แห่ง) ขนาด 5 – 9 คน ร้อยละ 27.27 (27 แห่ง) ขนาด 20 – 49 คน ร้อยละ 18.18 (18 แห่ง) 
ขนาด 10 – 19 คน ร้อยละ 13.13 (13 แห่ง) ขนาด 50 – 99 คน ร้อยละ 4.04 (4 แห่ง) ขนาด 1,000 คนขึ้นไป ร้อยละ 0.02 (2 คน) และขนาด 100 – 299 คน ร้อยละ 1.01 (1 คน) 
 
               ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในไตรมาส 1 ปี 2553 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 69 แห่ง มีสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องจำนวน 67 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 97.10   และสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องมีร้อยละ 2.90 (2 แห่ง) ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 3,668 คน
 
การประกันสังคม จำนวนสถานประกอบการแลผู้ประกันตนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม จำแนกออกเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน โดยกองทุนประกันสังคมมีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 2,211 แห่ง ผู้ประกันตน 65,762 ราย และกองทุนประกันสังคมมีสถานประกอบการทั้งสิ้น 1,937 แห่ง ลูกจ้าง 58,664 คน โดยหากพิจารณาจำนวนสถานประกอบการที่อยู่ในข่ายกองทุนประกันสังคมพบว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.56 
โดยมีสถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมทั้งสิ้น 3 แห่ง ซึ่งเป็นสถานพยาบาลของรัฐ
สำหรับการใช้บริการจากกองทุนประกันสังคมเมื่อพิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน(ไม่เนื่องจากการทำงาน) ซึ่งมี 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย  คลอดบุตร  ทุพพลภาพ  ตาย  สงเคราะห์บุตร  ชราภาพ และว่างงาน พบว่าจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 156,216 ราย สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุดได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 147,402 ราย  คิดเป็นร้อยละ 94.36 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณีเจ็บป่วย ว่างงาน คลอดบุตร ชราภาพ ทุพพลภาพ และตาย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 3.08   1.72   0.38   0.25    0.17   และ 0.05 ตามลำดับ ส่วนจำนวนการจ่ายเงิน
ประโยชน์ทดแทน พบว่า การจ่ายเงินกรณีสงเคราะห์บุตรมีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 15.56 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.80 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย
 
 
………………………………………………………………..

ไฟล์แนบ:

pll_file_nameQ1-2553

ขนาด : 47 kb
วันที่สร้าง : 26 พ.ค. 2553
TOP