Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดลพบุรี

สถานการณ์แรงงานจังหวัดลพบุรี รายปี 2556 (มกราคม – ธันวาคม 2556)

pll_content_description

               สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน 

ปี  2556  (มกราคม – ธันวาคม)  มีรายละเอียดสรุปดังนี้

                 สำนักงานคลังจังหวัดลพบุรี  รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในปี  2556  (ข้อมูล  ณ  เดือนพฤศจิกายน)  พบว่า ภาพรวมหดตัวลงจากเดือนเดียวกันของ  ปีก่อนโดยเศรษฐกิจหลักของจังหวัด  ด้านอุปทาน  ลดลงตามการผลิต       ภาคการเกษตร  และภาคอุตสาหกรรม  ส่วนภาคบริการยังขยายตัวได้ดี ด้านอุปสงค์  ลดลงตามการบริโภคภาคเอกชน แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชน  และการใช้จ่ายภาครัฐจะเพิ่มขึ้นก็ตาม  สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อยู่ในเกณฑ์ดี      ด้านการเงินขยายตัวในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.32   การจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่  มีจำนวน  40  ราย  อุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุด  คือ การก่อสร้าง  ในส่วนการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่  พบว่ามี  จำนวน  3  ราย  เงินลงทุน  134.49  ล้านบาท  สามารถเพิ่มแรงงานได้  83  คน 

            ประชากรและกำลังแรงงานจังหวัดลพบุรี  มีประชากรจำนวน  775,439  คน  เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน  จำนวน  664,567  คน 

 ผู้มีงานทำ  476,761  คน  ผู้ว่างงาน   5,921  คน  ผู้รอฤดูกาล  572  คน  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3  ปี 2556) 

           การมีงานทำ  ผู้มีงานทำในจังหวัดลพบุรี  จำนวน  476,761  คน  หรือร้อยละ  61.48  ทำงานในภาคเกษตร  ผู้มีงานทำจำนวน  182,288  คน  หรือร้อยละ  38.23  ทำงานนอกภาคการเกษตร  โดยทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุด  จำนวน  80,130  คน  หรือร้อยละ  16.80  รองลงมาคือการขายส่ง  ขายปลีก  จำนวน  68,853  คน  หรือร้อยละ  14.44  และผู้ที่มีงาน

ทำส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา  จำนวน  133,972  คน  หรือร้อยละ  28.10  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3  ปี 2556) 

          การว่างงาน  จังหวัดลพบุรีมีผู้ว่างงาน  จำนวน  5,921  คนหรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ  1.20  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3  ปี 2556) 

          แรงงานนอกระบบ  จากข้อมูลเบื้องต้นปี  2556  มีผู้ทำงานอยู่ในแรงงานนอกระบบจำนวน  476,761  คน  หรือร้อยละ  71.74  โดยส่วนใหญ่จะทำงานในภาคเกษตรคือจำนวน  152,528  คน  หรือร้อยละ  31.99  อุตสาหกรรมที่มีแรงงานนอกระบบสูงสุดคือ  การผลิต  จำนวน  80,130  คน  หรือร้อยละ  16.80  รองลงมาคือ  การขายส่ง  ขายปลีก  จำนวน  68,853  คน  หรือร้อยละ  14.44  ส่วนอาชีพที่มีการทำงานนอกระบบสูงสุด  คือ  ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง  จำนวน  152,528  คน  หรือร้อยละ  31.99  รองลงมา  คือ  พนักงานบริการ  และพนักงานร้านค้าและตลาด  จำนวน 96,903  คน   หรือร้อยละ  20.32  สำหรับด้านการศึกษาแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มี   การศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา  จำนวน 133,972  คน  หรือร้อยละ  28.10  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3  ปี 2556) 

          การบริการจัดหางานในประเทศ  ในช่วงปี  2556  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3  ปี  2556)  นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่ง     งานว่าง  จำนวน  1,400  คน  โดยมีผู้สมัครงาน  2,838  คน  และการบรรจุงานจะมีอัตราการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่าง  ร้อยละ  99.5  (การบรรจุงานมากกว่าตำแหน่งงานว่าง  เนื่องจากได้ติดตามผลการบรรจุของผู้สมัครงานในไตรมาสก่อนซึ่งได้รับการบรรจุงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้)ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุด  คือ  ประถมศึกษาและต่ำกว่า  มีความต้องการร้อยละ  31.28  (438  อัตรา)  รองลงมาเป็นระดับ  ปวส.  ร้อยละ  44.71  (262  อัตรา)  สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด  คือ  อาชีพงานพื้นฐาน  ร้อยละ  51.90  (723  คน)  และอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด  คือ  การผลิต  ร้อยละ  52.35 (733  อัตรา)

          ความต้องการแรงงาน  ในจังหวัดลพบุรี  ปี  2556  คาดการณ์ว่าสถานประกอบการมีความต้องการแรงงานฝีมือมากที่สุด จำนวน 84 อัตรา (ร้อยละ 55.27)  รองลงมา ได้แก่ แรงงานกึ่งฝีมือ จำนวน 40 อัตรา  (ร้อยละ 26.31)  และแรงงาน  ไร้ฝีมือ 20 อัตรา (ร้อยละ 13.15) ตามลำดับ   โดยแรงงานที่ต้องการส่วนใหญ่ต้องการระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุดจำนวน   50  อัตรา  (ร้อยละ  31.44)  รองลงมาเป็นได้แก่  ระดับ  ปวส. จำนวน  33  อัตรา  (ร้อยละ  20.75)  และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวน  25  อัตรา  (ร้อยละ  15.73)  ตามลำดับ  อาชีพที่ต้องการแรงงานมากที่สุด  ได้แก่  อาชีพพนักงานเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม  บริกร  จำนวน  25  อัตรา  (ร้อยละ  15.72)  รองลงมาได้แก่  อาชีพช่างก่ออิฐ(ช่างก่อสร้าง)  และอาชีพช่างปูนคอนกรีต อาชีพละ  20  อัตรา  (ร้อยละ  12.57)  สำหรับการเข้าออกงานลูกจ้างที่ออกจากงาน  ปี  2556 มีจำนวน  12,494  คน  โดยส่วนใหญ่เป็นการลาออกของพนักงาน  8,417  คน  (ร้อยละ  67.36)  ส่วนการลดตำแหน่งงาน  3,632  คน  (ร้อยละ  29.07)  เหตุผลอื่นๆ  409  คน  (ร้อยละ  3.28)  อาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุดในจังหวัดลพบุรี  คืออาชีพพนักงานดูแลความปลอดภัย  พนักงานรักษาความปลอดภัย  จำนวน  40  อัตรา       (ร้อยละ  47.61)  รองลงมาได้แก่  แรงงานฝีมือ  จำนวน  36  อัตรา  (ร้อยละ  42.85)  ส่วนระดับการศึกษาที่ขาดแคลนสูงสุดคือระดับปวส.  จำนวน  17  อัตรา       (ร้อยละ  21.25)  รองลงมาได้แก่  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวน  15  อัตรา  (ร้อยละ  18.75)  และระดับปวส./อนุปริญญา  จำนวน  13  อัตรา  (ร้อยละ  16.25)  ตามลำดับ  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3  ปี  2556)

          แรงงานต่างด้าว  ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ข้อมูลเดือนกันยายน  2556     มีจำนวน  587  คน  แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทชั่วคราว  จำนวน  232  คน  รองลงมาแรงงานต่างด้าวประเภทมาตรา  13  ยกเว้นมติ  ครม.  จำนวน  24  คน  และประเภทส่งเสริมการลงทุน  จำนวน  13  คน  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3  ปี  2556)

          แรงงานไทยในต่างประเทศ  ในช่วง    ไตรมาส  3  ปี  2556  จังหวัดลพบุรี  มีผู้แจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ  จำนวน 59  คน  โดยแรงงานที่ทำงานในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา  ส่วนวิธีการเดินทางพบว่า  ไปโดย  Re-Entry  จำนวน  36  คน  หรือร้อยละ  61.02  รองลงมานายจ้างพาไปฝึกงาน  จำนวน     20  คน  ร้อยละ  33.90  ส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงาน ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย  จำนวน  38  คน  (ร้อยละ  64.41)  (ข้อมูล  ณ  ไตรมาส  3         ปี  2556)

          การพัฒนาศักยภาพแรงงาน  จังหวัดลพบุรี  โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลพบุรี  ในช่วงปี  2556  มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานในจังหวัดลพบุรี  จำแนกตามกลุ่มอาชีพ  ระหว่างเดือนมกราคม –  ธันวาคม  2556  มีผู้เข้ารับการฝึกฯ  จำนวน  26  คน  และมีผู้ผ่านการฝึกฯ  จำนวน  24  คน  โดยอยู่ในกลุ่มอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ทั้งหมด  หรือร้อยละ  92.30

          สำหรับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี  จำแนกตามกลุ่มอาชีพ  ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม  2556  มีผู้เข้ารับ    การฝึกฯ  จำนวน  17  คน  และมีผู้ผ่านการฝึกทั้งหมด  ในกลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล

          การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี  จำแนกกลุ่มอาชีพระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม  2556  มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน  จำนวน  270  คน โดยกลุ่มอาชีพที่ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานมากที่สุด  คือ    ช่างอุตสาหกรรมศิลป์  จำนวน 93  คน  หรือร้อยละ  34.46  รองลงมา  คือธุรกิจและบริการ  จำนวน  80  คน  หรือ   ร้อยละ  29.64  และกลุ่มช่างอุตสาหกรรม  จำนวน 73  คน  หรือร้อยละ  27.0  มีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี  จำนวน  133  คน  หรือร้อยละ  49.25  กลุ่มอาชีพที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานมากที่สุด  คือ  กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์  จำนวน  79  คน    หรือร้อยละ  59.40  รองลงมา  คือ  กลุ่มช่าง   อุตสาหการ  จำนวน  25  คน  หรือร้อยละ  18.80  และกลุ่มช่างเครื่องกล  จำนวน  18  คน หรือร้อยละ  13.53

          การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี  จำแนกตามกลุ่มอาชีพ  ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม  2556  ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานฯ  จำนวน  163  คน  โดยมีกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานฯ  สูงสุด  คือ  กลุ่มธุรกิจและบริการ  จำนวน  144  คน  หรือร้อยละ  88.34  รองลงมา  คือ  กลุ่มช่างก่อสร้าง  จำนวน  19  คน  หรือร้อยละ  11.66  สำหรับผู้ผ่านการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานฯ  จำนวน  162  คน หรือร้อยละ  99.38  กลุ่มอาชีพที่ผ่านการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานสูงสุด  คือ  กลุ่มธุรกิจและบริการ  จำนวน  143  คน  หรือร้อยละ  88.28  รองลงมา  คือ  กลุ่มช่างก่อสร้าง  จำนวน  19  คน  หรือร้อยละ  11.72 

          การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี  จำแนกตามอาชีพ  ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2556  ตามโครงการยกระดับผลิตภาพแรงงานไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบกิจการ  มีผู้เข้ารับการฝึกฯ จำนวน  3,137  คน  คือ  กลุ่มธุรกิจและบริการ  จำนวน  1,897  คน  หรือร้อยละ  60.48  รองลงมาคือ    ช่างอุตสาหกรรมศิลป์  จำนวน  853 คน  หรือร้อยละ  27.20  ช่างเครื่องกล  จำนวน  224   คน  หรือร้อยละ  7.14  ส่วนผู้ผ่านการฝึกทั้งหมด  3,089  คน  หรือร้อยละ  98.46 กลุ่มอาชีพที่ผ่านการฝึกฯ  สูงสุดคือ  ธุรกิจและบริการ  จำนวน  1,868  คน  หรือร้อยละ  60.48  รองลงมาคือ  ช่างอุตสาหกรรมศิลป์  จำนวน 850  คน  หรือร้อยละ  27.51  กลุ่มช่างเครื่องกลจำนวน  215  คน  หรือร้อยละ  6.96  ของผู้เข้ารับการฝึกฯ  ทั้งหมด

                การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี  จำแนกตามกลุ่มอาชีพ  ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม  2556  ตามโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีผู้เข้ารับการฝึกทั้งหมด  จำนวน  78  คน  กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์มีผู้เข้ารับการฝึกสูงสุด  จำนวน  58  คน  หรือร้อยละ  74.36  และช่างไฟฟ้า  อิเล็กทรอนิกส์  คอมพิวเตอร์  จำนวน  20  คน  หรือร้อยละ  25.64  และมีผู้ผ่านการฝึกฯ  ทั้งสิ้น  จำนวน  78  คน  โดยกลุ่มที่มีผู้ผ่านการฝึกฯ  คือ  กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์มีผู้เข้ารับการฝึกสูงสุด  จำนวน  58  คน  หรือร้อยละ  74.36  และช่างไฟฟ้า  อิเล็กทรอนิกส์  คอมพิวเตอร์  จำนวน  20  คน  หรือร้อยละ  25.64  ของผู้เข้ารับการฝึกฯ   ทั้งหมด

          การคุ้มครองแรงงาน  จากการตรวจสถานประกอบการในปี  2556  มีจำนวนทั้งสิ้น  353  แห่ง  มีลูกจ้างผ่านการตรวจ  จำนวน  13,219  คน  ซึ่งสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1 – 4  คน  จำนวน  101  แห่ง  หรือร้อยละ  29.27  รองลงมาขนาด  10 – 19  คน  จำนวน  76  แห่ง  หรือร้อยละ  22.02  และขนาด  20 – 49  คน  จำนวน  76  แห่ง  ปฏิบัติไม่ถูกต้องจำนวน  8  แห่ง  หรือร้อยละ  2.26

           การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน  มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ  ทั้งสิ้น  232  แห่ง  ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ  จำนวน  1,975  คน  พบว่าสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย  จำนวน  227  แห่ง  หรือร้อยละ  97.84 ปฏิบัติไม่ถูกต้องจำนวน  5  แห่ง  หรือร้อยละ  2.15  โดยประเภทอุตสาหกรรมที่มีอัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด  ได้แก่  ประเภทการผลิต  จำนวน  4  แห่ง  หรือร้อยละ  80.0  รองลงมา  คือ  ประเภทการการขายส่ง  การขายปลีก  การซ่อมแซมยานยนต์  จักรยานยนต์  ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ครัวเรือน  จำนวน  1   แห่ง  หรือร้อยละ  20.0 

          การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน  ในช่วง  2556  มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  จำนวน  583  คน  โดยประเภทส่วนใหญ่  จะหยุดงานไม่เกิน  3  วัน  จำนวน  433  คน  หรือร้อยละ  74.27  และ   หยุดงานเกิน  3  วัน  จำนวน  127  คน  หรือ   ร้อยละ  21.78  สูญเสียอวัยวะบางส่วน  จำนวน  15  คน  หรือร้อยละ  2.57  และตาย  จำนวน    8  คน  หรือร้อยละ  1.37 

          การเกิดข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งภายในจังหวัดลพบุรี  ใน ปี  2556  ไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาท  และข้อขัดแย้งใดๆ        

           การเลิกจ้างแรงงาน  สถานประกอบการในจังหวัดลพบุรี  ที่เลิกกิจการมีจำนวน  3  แห่ง  ลูกจ้างที่เลิกจ้าง  8  คน  ส่วนสถานประกอบการที่หยุดกิจการมีจำนวน  37  แห่ง  ลูกจ้างที่รับผลกระทบ  104  คน  (ข้อมูล  ณ  เดือนกันยายน  2556)

          การสวัสดิการ  มีการส่งเสริมให้บริการด้านสวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด  226  แห่ง  ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง  จำนวน37,970  คน 

          การประกันสังคม  ในปี  2556  พบว่า  จังหวัดลพบุรีมีจำนวนสถานประกอบการและผู้ประกันตนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม  จำแนกออกเป็น  2  กองทุน  คือ  กองทุนประกันสังคม  และกองทุนเงินทดแทน  โดยกองทุนประกันสังคมมีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น  2,251  แห่ง  มีผู้ประกันตน  73,674  ราย  และกองทุนเงินทดแทน  มีสถานประกอบการทั้งสิ้น  1,960  แห่ง  ผู้ประกันตน  62,615  ราย  และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานของรัฐ  จำนวน  3  แห่ง  ของสถานพยาบาลทั้งหมด

           กองทุนประกันสังคม  (ข้อมูล  ณ  เดือนกันยายน  2556)  มีเงินกองทุน  76,375,000.05  บาท  จำนวนผู้ใช้บริการมีจำนวน  23,898  ราย  ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด  ได้แก่  สงเคราะห์บุตร  มีจำนวน  14,232  ราย  หรือร้อยละ  59.55  สำหรับการจ่ายเงินกรณีเจ็บป่วยมีการจ่ายเงินสูงสุดถึง  6,120,050.00  บาท  หรือร้อยละ  8.01  ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย

TOP