Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดลพบุรี

รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดลพบุรี ไตรมาส 1 ปี 2559 (มกราคม – มีนาคม 2559)

pll_content_description

 ไตรมาส 1 ปี 2559 (มกราคม – มีนาคม 2559) มีรายละเอียดสรุปดังนี้สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน 

สำนักงานคลังจังหวัดลพบุรี รายงานเศรษฐกิจโดยรวมจังหวัด ในไตรมาส 1 ปี  2559 พบว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโดยรวม  ของจังหวัดมีสัญญาณหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากด้านอุปทานที่ลดลง   จากภาคเกษตรกรรม  แม้ว่าภาคการอุตสาหกรรม และภาคบริการจะยังขยายตัวได้ดีสำหรับด้านอุปสงค์ขยายตัวจากปีก่อนเล็กน้อย จากการบริโภคภาคเอกชนในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐลดลงจากปีก่อนสำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจดัชนีราคาผู้บริโภคหดตัวจากปีก่อน  ปริมาณเงินฝากชะลอตัวเล็กน้อย ในขณะที่ปริมาณสินเชื่อยังคงลดลงต่อเนื่อง

          ประชากรและกำลังแรงงานจังหวัดลพบุรี  ณ เดือนมีนาคม มีประชากรจำนวน  776,027  คน  เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน  จำนวน  445,750  คน  ผู้มีงานทำ  429,527  คน          ผู้ว่างงาน   4,859  คน  และกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล  11,364  คน

          การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดลพบุรี  จำนวน 429,527 คน หรือร้อยละ 96.36 ทำงานในภาคเกษตรผู้มีงานทำ จำนวน 148,422 คน หรือร้อยละ 34.55 สำหรับทำงานนอกภาคการเกษตร ทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุดจำนวน91,277คนหรือร้อยละ21.25รองลงมาคือการขายส่งขายปลีกจำนวน70,580คนหรือร้อยละ16.43การก่อสร้างจำนวน34,219คนหรือร้อยละ7.96ผู้ที่มีงานทำส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาจำนวน114,335คนหรือร้อยละ26.61ประถมศึกษาจำนวน84,995คนหรือร้อยละ19.79และมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน80,097คน หรือร้อยละ18.65                                    

        การว่างงาน จังหวัดลพบุรีมีผู้ว่างงาน 4,859  คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.09 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมามีผู้ว่างงานจำนวน 4,543 คนหรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.66 คิดเป็นอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06

          แรงงานนอกระบบ  จากข้อมูล  ปี  2557 ของสำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี มีผู้ทำงานอยู่ในแรงงานนอกระบบจำนวน  439,101  คน หรือร้อยละ  97.60  โดยส่วนใหญ่จะทำงานในภาคเกษตร คือ จำนวน 155,972  คน หรือร้อยละ 35.52  อุตสาหกรรมที่มีแรงงานนอกระบบสูงสุดคือ การผลิต จำนวน 75,483  คน หรือร้อยละ 17.19 รองลงมาคือ การขายส่ง ขายปลีก จำนวน 74,225 คน หรือร้อยละ 16.90 ส่วนอาชีพที่มีการทำงาน นอกระบบสูงสุด คือ ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง จำนวน  125,450 คน หรือร้อยละ 28.56 รองลงมา คือ  พนักงานบริการและพนักงานร้านค้าและตลาด  จำนวน 83,112 คน หรือร้อยละ 18.92 สำหรับ     ด้านการศึกษาแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 199,228 คน หรือร้อยละ 31.35 

          การบริการจัดหางานในจังหวัดลพบุรี ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2559 (มกราคม – มีนาคม 2559)  นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 1,235 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน 4,239 น และการบรรจุงานจำนวน 866  อัตรา คิดเป็นอัตราการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 70.12 ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุด คือ ระดับมัธยมศึกษามีความต้องการร้อยละ 46.08 (569 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับ  ปวช. ร้อยละ 17.16 (212 อัตรา) และระดับ ปวส.  ร้อยละ 14.25 (176 อัตรา) สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ อาชีพงานพื้นฐาน ร้อยละ 41.45  (359 คน) รองลงมา คือ อาชีพพนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด ร้อยละ 24.94 (216 คน) และเสมียน  เจ้าหน้าที่ ร้อยละ  11.89 (103 คน) และอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 60.97  (753 น)รองลงมา คือการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ร้อยละ 16.35(202คน) และโรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 8.01(99คน)      

          ความต้องการแรงงานในจังหวัดลพบุรี  ปี  2558  พบว่ามีผู้ทำงานรวมทั้งสิ้น 76,893 คน เป็นกลุ่มแรงงานฝีมือมากที่สุด จำนวน 28,389 อัตรา (ร้อยละ 37.21) รองลงมา ได้แก่ แรงงานกึ่งฝีมือ จำนวน 27,668 อัตรา (ร้อยละ 36.27) แรงงานไร้ฝีมือ 14,288 อัตรา (ร้อยละ 18.73) และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้บริหาร 5,937 อัตรา (ร้อยละ 7.79) ตามลำดับ ระดับการศึกษาที่ผู้มีงานทำจบมากที่สุดคือระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 25,408 คน (ร้อยละ 33.04) รองลงมาคือระดับ ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน  14,621 คน (ร้อยละ 19.01) โดยแรงงานที่ต้องการส่วนใหญ่ต้องการระดับ ปวช. มากที่สุดจำนวน 204  อัตรา (ร้อยละ 34.93) รองลงมาเป็นได้แก่ ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 166 อัตรา (ร้อยละ  28.42) ระดับปวส. และระดับปริญญาตรี มีจำนวนเท่ากันคือ 74 อัตรา (ร้อยละ 12.67) ตามลำดับ สำหรับอาชีพที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด จำแนกตามทักษะฝีมือ คือกิจการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 172 อัตรา (ร้อยละ 60.99)  โดยส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานฝีมือมากที่สุด  รองลงมาได้แก่ กิจการอาหาร และอาหารสัตว์ จำนวน  60 อัตรา (21.27) ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานกึ่งฝีมือมากที่สุด และกิจการเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ จำนวน 68 อัตรา (42.76) ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานไร้ฝีมือ สำหรับการสำรวจการเข้าออกงานของแรงงาน ในกิจการต่างๆ ปี 2557 มีลูกจ้างเข้าทำงานมากกว่าออกจากงานโดยลูกจ้างเข้าทำงานมีจำนวน 12,091 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการรับเข้าทำงานเพื่อทดแทนแรงงานเก่าที่ออกไปจำนวน 1,219 คน (ร้อยละ 92.78) ส่วนการออกงานของลูกจ้างมีจำนวน 11,284 คน ส่วนใหญ่เป็นการลาออกเอง 9,853 คน (ร้อยละ87.31) การขาดแคลนแรงงาน พบว่า มีจำนวนการขาดแคลนแรงงานทั้งสิ้น  1,066 อัตรา การขาดแคลนแรงงานตามระดับการศึกษา พบว่า ระดับ ปวส. มีการขาดแคลนแรงงานมากที่สุด จำนวน 825 อัตรา (ร้อยละ 77.39) รองลงมาได้แก่ ระดับ ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 116  อัตรา (ร้อยละ 10.88) และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน 89 อัตรา (ร้อยละ 8.34) ตามลำดับ  

          แรงงานต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติ ครม. จำแนกตามสัญชาติ (แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย)  จำนวนทั้งสิ้น 5,093 คน จำแนกเป็นสัญชาติกัมพูชามากที่สุด จำนวน 2,389 คน คิดเป็นร้อยละ 46.90  รองลงมาเป็นสัญชาติพม่า จำนวน 2,135 คน คิดเป็นร้อยละ 41.92 และสัญชาติลาว จำนวน 569 คน     คิดเป็นร้อยละ 11.18

          แรงงานไทยในต่างประเทศ ในช่วงไตรมาส 1  ปี 2559 จังหวัดลพบุรี มีผู้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 43 คน โดยแรงงานที่ทำงานในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญาจำนวน 20  คน ร้อยละ 46.51 รองลงมาคือระดับปริญญาตรี และระดับมัธยมศึกษา มีจำนวนเท่ากัน จำนวน 10 คน ร้อยละ 23.26 ส่วนวิธีการเดินทางพบว่า เดินทางไปโดย  Re-Entry จำนวน 62 คน หรือร้อยละ 71.26 รองลงมานายจ้างพาไปฝึกงาน จำนวน 14 คน ร้อยละ  16.09 ส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทย ไปทำงานส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย จำนวน 38 คน ร้อยละ 69.09 รองลงมาภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน 7 คน ร้อยละ  12.73

          การพัฒนาศักยภาพแรงงาน จังหวัดลพบุรี  โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลพบุรี ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2559 ไม่มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้า

           การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2559 มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกทั้งหมด 377 คน กลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกมากที่สุดคือ กลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ จำนวน 269 คน หรือร้อยละ 71.35 รองลงมา คือ กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน65 คน หรือร้อยละ 17.24 และกลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 29คนส่วนผู้ผ่านการฝึกยกระดับมีจำนวน 373 คนหรือร้อยละ 98.93 โดยเป็นกลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการเป็นผู้ผ่านการฝึกฯ มากที่สุด จำนวน 268 หรือร้อยละ71.84 รองลงมาคือ กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์จำนวน 65 คน หรือร้อยละ 17.43 และกลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 26คน หรือร้อยละ 6.97              

          การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในจังหวัดลพบุรี จำแนกกลุ่มอาชีพระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2559 มีจำนวนผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสิ้นจำนวน 189 คน ได้แก่ กลุ่มอาชีพช่างช่างไฟฟ้า  อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 66.14 รองลงมาได้แก่ กลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล  จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 33.86 ส่วนผู้ผ่าน     การทดสอบฯ มีจำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ  95.76 โดยเป็นกลุ่มช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 125 คน หรือร้อยละ 69.07  และกลุ่มช่างเครื่องกล จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ  30.93 

          การคุ้มครองแรงงาน จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 143 แห่ง มีลูกจ้างผ่านการตรวจ  จำนวน 9,278 คน ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน จำนวน 37 แห่ง  ร้อยละ 25.87 รองลงมาขนาด 10-19 คน  จำนวน 34 แห่ง ร้อยละ 23.77 และขนาด 5-9 แห่ง  จำนวน 26 คน ร้อยละ 18.18 โดยสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายจำนวน 139 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 97.20

–  สถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายในไตรมาส 1 ปี 2559 มีจำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ  2.80 ซึ่งเป็นสถานประกอบการขนาด 50-99 คน  จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.0 ขนาด 10-19  คน และขนาด 100-299 คน ขนาดละ 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 25.0 

–  ประเภทอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายมากที่สุด ในไตรมาส 1 ปี 2559 คือ ประเภทอุตสาหกรรมการเกษตร การล่าสัตว์ และการป่าไม้  จำนวน 2 แห่ง ลูกจ้างจำนวน 356 คน   

          การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ ทั้งสิ้น 88  แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 4,546 คน พบว่า  สถานประกอบการ ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัยทั้งสิ้นจำนวน 88 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 4,546 คน ไม่มีสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง 

          การเกิดข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งภายในจังหวัดลพบุรี ในไตรมาส 1 ปี 2559  ไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาท และข้อขัดแย้งใดๆ                การเลิกจ้างแรงงานสถานประกอบการในจังหวัดลพบุรี ไม่มีการเลิกกิจการในไตรมาส 1 ปี 2559   

          การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน  มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  จำนวน 168 คน โดยส่วนใหญ่จะหยุดงานไม่เกิน 3  วัน จำนวน 138 คน หรือร้อยละ 82.14 และหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 27 คน หรือร้อยละ 16.07 และตาย จำนวน 3 คน หรือร้อยละ 1.79    

          การประกันสังคม พบว่า จังหวัดลพบุรีมีจำนวนสถานประกอบการและผู้ประกันตนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม จำแนกออกเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน โดยกองทุนประกันสังคมมีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 2,179 แห่ง มีผู้ประกันตน 88,968 ราย และกองทุนเงินทดแทน มีสถานประกอบการทั้งสิ้น 1,876 แห่ง ผู้ประกันตน 70,020 ราย และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐ จำนวน 3 แห่ง และเป็นสถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง

          ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด ได้แก่ สงเคราะห์บุตร มีจำนวน  43,289  ราย หรือร้อยละ 75.22 รองลงมา คือ ว่างงาน  จำนวน 5,197 คน หรือร้อยละ 9.02 และว่างงาน จำนวน 5,145 คน หรือร้อยละ  8.94 

 สำหรับการจ่ายเงินกรณีเจ็บป่วย มีการจ่ายเงินสูงสุดถึง39,372,226.13 บาท หรือร้อยละ 34.28 ของเงินประโยชน์ทดแทน ที่จ่าย 

 

 

ไฟล์แนบ:

pll_file_nameaitrmaasthii_1_pii_2559

ขนาด : 1190.96 kb
วันที่สร้าง : 18 พ.ค. 2559
TOP